Privacy policy PDPA KSP

นโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์

ข้อมูลส่วนบุคคลหมายถึง

“ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้

ข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตน

อาทิ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว เลขทะเบียนโรงพยาบาล เลขทะเบียนห้องปฏิบัติการ เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลทางการศึกษาข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์ ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนบ้าน วันเดือนปีเกิด สัญชาติ น้ำหนักส่วนสูง ข้อมูลบนแอพพลิเคชั่นที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username /password, Cookies IP address, GPS Location แอพพลิเคชั่นสำหรับการนัด และแพทย์ทางไกล

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว

ได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา หรือข้อมูลเพิ่มเติมอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

ข้อมูลการรักษาพยาบาล

เช่น ประวัติการรักษาพยาบาล วันเดือนปีที่เข้ารับการรักษา จำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษา ประวัติแพ้ยาและประวัติผลข้างเคียงจากยา ประวัติแพ้อาหาร ประวัติการวินิจฉัยโรค หัตถการและชื่อการผ่าตัด ผลการรักษา ผลเลือดผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ภาพถ่ายทางรังสีวิทยาและรายงานผลทางรังสีวิทยารายการและประวัติยาที่แพทย์ได้สั่ง

ประมวลผล

หมายถึง เก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์เก็บรวบรวมจากท่าน
ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียดข้อมูล
ข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตน ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพ สัญชาติ น้ำหนักส่วนสูง ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ สถานที่ทำงาน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เลขที่ใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลทางการศึกษา ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนบ้าน เลขทะเบียนโรงพยาบาล เลขบัตรประชาชน ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประวัติครอบครัว ชื่อคู่สมรส บุตร ญาติหรือบุคคลที่ติดต่อได้ ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ใบรับรองแพทย์ก่อนเกณฑ์ทหาร Username/Password
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ความพิการ ศาสนา โรคประจําตัว
ข้อมูลการรักษาพยาบาล ประวัติการรักษา สิทธิการรักษา วันเดือนปีที่เข้ารับการรักษา จํานวนครั้งของการเข้ารับการรักษา ประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร ประวัติการใช้ยาสำคัญของ รพ . อื่น ประวัติการรับและส่งต่อผู้ป่วย เพื่อลงข้อมูลไว้แจ้งเตือน ประวัติการวินิจฉัยโรค หัตถการ ผลการรักษา ผลทางห้องปฏิบัติการ ภาพถ่ายรังสี ประวัติยาที่สั่ง ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ข้อมูลความพึงพอใจในการรับบริการ
ข้อมูลสถิติ ข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน จำนวนผู้ป่วย
ข้อมูลการเข้าใช้เว็บไซต์ หมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ ชนิดของบราวเซอร์ ข้อมูล Cookies การตั้งค่าเรื่องเขตเวลา (time zone) ระบบปฏิบัติการ แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ใช้เข้าเว็บไซต์

แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

โดยเราจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากขั้นตอนการให้บริการ ทางโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์อาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจาก

1. ข้อมูลส่วนบุคคลจากท่านโดยตรง ขั้นตอนการลงทะเบียนทั้งจากการมารับบริการด้วยตนเอง ทางโทรศัพท์หรือสมัครใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์

2. ข้อมูลส่วนบุคคลจากท่านโดยอ้อม ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านมาจากบุคคลที่สาม ดังต่อไปนี้ ญาติหรือคู่สมรส บุคคลที่ท่านได้มอบอำนาจให้ดำเนินการแทน ตัวท่านในการติดต่อกับโรงพยาบาล บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ส่งท่านมาตรวจรักษากับเราหรือเป็นผู้ชำระ ค่าบริการตรวจรักษาให้กับท่าน

วัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูล

ทางโรงพยาบาลจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อ

1. การตรวจรักษาโรคและให้บริการทางการแพทย์ เราจะดำเนินการดังนี้กับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

1. เพื่อให้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล โดยนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อปรึกษาทีมแพทย์ รวมถึงถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพื่อติดตามการรักษา และ/หรือ กระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาที่ท่านเข้าอยู่รับการตรวจรักษาโดยทางรพ. จะอธิบายข้อมูลรายละเอียดให้ท่านได้เข้าใจก่อน และเปิดโอกาสให้ท่านถามจนพอใจ ให้บริการทางการแพทย์ในกรณีจำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่าย เพื่อรับและส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอื่นในกรณีที่มีการร้องขอหรือได้รับการร้องขอให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเพื่อไปรับการ ตรวจรักษาต่อที่สถานพยาบาลอื่นตามกระบวนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล โดยจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย เท่านั้น ไม่นำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น

2. การพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล โรงพยาบาลนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อการพัฒนาคุณภาพของการรักษาพยาบาล โดยจะทำเป็นรูปแบบรายงานผล โดยภาพรวมที่ไม่มีการบ่งชี้ตัวตนของเจ้าของข้อมูล และจะรักษาความลับของข้อมูลดังกล่าวของท่านอย่างเคร่งครัด

3. การเปิดเผยข้อมูลให้บริษัทประกันภัย หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่ท่านเป็นคู่สัญญา เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท ประกันภัยหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล โรงพยาบาลนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อประโยชน์ในการเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทนแล้ว บริษัทจำเป็นต้องเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาที่ท่านได้ทำไว้ทั้งนี้ บริษัทประกันภัย หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ให้กับบุคคลอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้อง

4. การเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ว่าจ้างของท่านเมื่อท่านได้ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่หน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ส่งท่านมา ตรวจรักษากับโรงพยาบาลหรือเป็นผู้ชำระค่าบริการตรวจรักษาให้แก่ท่าน โรงพยาบาลจะเปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวให้กับ ผู้ว่าจ้างของท่านเฉพาะกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้กับผู้ว่าจ้างเท่านั้น ถ้าท่านไม่ได้ให้ความยินยอมดังกล่าว โรงพยาบาลจะส่งผลตรวจรักษาให้ท่านโดยตรง

5. การเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านเวชระเบียนระหว่างสถานพยาบาลผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น เมื่อท่านให้ความยินยอม โรงพยาบาลจะนำข้อมูลส่วนบุคคล ของท่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่านในการรับคำปรึกษาผ่านแอพพลิเคชั่น และเพื่อให้ท่านสามารถ บริหารจัดการข้อมูลได้ผ่านแอพพลิเคชั่น และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ระบบจะทำการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านเวชระเบียนระหว่างสถานพยาบาล ในเครือข่ายเพื่อให้ท่านสามารถเรียกดูข้อมูลส่วนบุคคลของท่านผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ได้ โดยบริษัทฯ มีความตกลงร่วมกับสถานพยาบาลเครือข่ายเพื่อคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลของท่านให้เป็นไปตามที่ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด

นอกจากวัตถุประสงค์ที่ระบุข้างต้นแล้ว โรงพยาบาลจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ยกเว้นในกรณีที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 อนุญาต เช่น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายของบริษัทฯ เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย เพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายด้านการคุ้มครอง แรงงาน การให้สวัสดิการรักษาพยาบาล การประกันสังคม เพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข หรือการคุ้มครองทางสังคมอื่นใดโดยโรงพยาบาลจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

การเปิดเผยหรือแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล

โดยบุคคล หน่วยงาน ที่โรงพยาบาลอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านมี ดังนี้

1. เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานผู้มีอำนาจหรือบุคคลใดๆ เมื่อมีกฎหมายกำหนดหรือให้อำนาจ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งศาล

2. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลที่โรงพยาบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาเพื่อผลประโยชน์ของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยโรงพยาบาลกำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลเหล่านี้ต้องรักษาความลับและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามมาตรฐานที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล พ.ศ.2562 กำหนด ซึ่งบุคคลหรือนิติบุคคลในข้อนี้ได้แก่

1. สถานพยาบาลในเครือข่าย
2. บริษัทประกันภัย หรือผู้ให้บริการบริหารจัดการสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัยนั้น
3. สถานพยาบาลที่รับการส่งต่อผู้ป่วย
4. ผู้ส่งท่านมาตรวจรักษากับสถานพยาบาล
5. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของบริษัทฯ เช่น ผู้รับจ้าง หรือผู้ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การจัดทำข้อมูล การโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ การชำระเงิน หรือการให้บริการด้านเทคโนโลยี (Technology Outsource)

3. โรงพยาบาลอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบประมวลผลแบบคลาวด์ โดยใช้บริการจากบุคคลที่สามไม่ว่าตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยโรงพยาบาล ได้เข้าทำสัญญากับบุคคลดังกล่าวด้วยความระมัดระวังและพิจารณาถึงระบบรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่ ผู้ให้บริการระบบประมวลผลแบบ คลาวด์นั้นให้กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
4. โรงพยาบาลอาจมีความจำเป็นในการโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังหน่วยงานต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีรายชื่อเช่น Line Facebook โดย หน่วยงานดังกล่าวมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ และจะสามารถบังคับใช้สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล รวมทั้งมีมาตรการเยียวยาตามกฎหมายที่จะบังคับ ใช้ได้ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ https://terms.line.me/line_terms และ https://www.facebook.com/policies_center

การเก็บรักษาและระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้ควบคุมทำการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ดังนี้

1. ลักษณะการเก็บ โรงพยาบาลจัดเก็บข้อมูลเป็นเวชระเบียนในรูปแบบสำเนาถาวรและสำเนาชั่วคราว โดยจัดการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลด้วยมาตรการไม่น้อยกว่าระดับที่กฎหมาย กำหนดและด้วยระบบที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล มีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจจะเข้าถึงได้โดยพนักงาน ตัวแทน คู่ค้าหรือบุคคลภายนอก รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกจะสามารถทำได้ตามเท่าที่กำหนดไว้หรือตามคำสั่ง ซึ่งบุคคลภายนอกจะต้องมีหน้าที่ ในการรักษาความลับและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จัดให้มีวิธีการทางเทคโนโลยีเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตและมีระบบตรวจ สอบเพื่อจัดการทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่มีความจำเป็นในการดำเนินการ ในกรณีที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวทางโรงพยาบาล จัดให้มีมาตรการการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในด้านการเข้าถึงและควบคุมการใช้งาน มีระบบการใช้งานและระบบสำรองพร้อมทั้งแผนสำหรับกรณีฉุกเฉิน และมี การตรวจสอบประเมินความเสี่ยงของระบบอย่างสม่ำเสมอ

2. สถานที่จัดเก็บ จัดเก็บในสถานที่ที่มีระบบป้องกันการเข้าถึงที่จำกัดบุคคลที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปแบบเวชระเบียนฉบับจริงและสำเนาที่อาคาร 2 ชั้น 3 ข้อมูลส่วนเวชระเบียนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่อาคาร 1 ชั้น 3 ข้อมูลภาพถ่ายรังสีในระบบคอมพิวเตอร์ที่แผนกรังสีกรรมอาคาร 2 ชั้น 1 และแผนกทันตกรรมอาคาร 3 ชั้น 1

3. ระยะเวลาจัดเก็บ เป็นไปตามหัวข้อ ระยะเวลาในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ใช้มาตรฐานระยะเวลาการเก็บเวชระเบียนตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และ ฉบับแก้ไขล่าสุด โดยหลังจากจำหน่ายผู้ป่วยแล้ว จะเก็บต่ออีก 5 ปี เมื่อครบกำหนด 5 ปีแล้วจะทำลายทิ้งทั้งเวชระเบียนฉบับจริง สำเนาและเวชระเบียนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่โรงพยาบาลต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตาม คำสั่งศาล หรือต้องก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายเพื่อเข้ากระบวนการระงับข้อพิพาทใดๆ โรงพยาบาลอาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามระยะเวลาของอายุความ ตามกฎหมาย หรือจนกว่าข้อพิพาทนั้นจะถึงที่สุดแล้วแต่กรณี

4. เมื่อพ้นระยะเวลาจัดเก็บ หรือเราไม่มีสิทธิ์หรือไม่สามารถอ้างฐานในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านแล้ว เราจะดำเนินการทำลายข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ในกรณีที่เป็นสำเนาถาวรจะทำลายผ่านเครื่องทำลายเอกสาร ในกรณีสำเนาชั่วคราวจะทำลายผ่านการลบข้อมูลในระบบที่ใช้งานและระบบสำรองและจะดำเนิน การให้แล้วเสร็จภายใน 1 อาทิตย์ นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว

สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ท่านมีสิทธิ์ในการดำเนินการตามขอบเขตที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ ดังต่อไปนี้
(1) สิทธิ์ในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent): ท่านมีสิทธิ์ในการเพิกถอนความยินยอมในการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความ ยินยอมกับเราได้ ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับเรา
(2) สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access): ท่านมีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและขอให้เรา ทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ ท่านรวมถึงขอให้เราเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความ ยินยอมต่อเราได้
(3) สิทธิ์ในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification): ท่านมีสิทธิ์ในการขอให้เราแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือ เพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
(4) สิทธิ์ในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure): ท่านมีสิทธิ์ในการขอให้เราทำการลบข้อมูลของท่านด้วยเหตุบาง ประการได้
(5) สิทธิ์ในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing): ท่านมีสิทธิ์ในการระงับการใช้ข้อมูล ส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
(6) สิทธิ์ในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability): ท่านมีสิทธิ์ในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่านที่ท่านให้ไว้กับเราไปยังผู้ควบคุมข้อมูล รายอื่นหรือ ตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
(7) สิทธิ์ในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object): ท่านมีสิทธิ์ในการคัดคานการประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้

ท่านสามารถติดต่อมายังเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้ เพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขอดำเนินการตามสิทธิ์ข้างต้นได้ หรือท่านอาจศึกษา เพิ่มเติมได้ที่ข้อมูลสำหรับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น TDPG3.0, เว็บไซต์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม http://www.mdes.go.th ทั้งนี้ ท่านไม่จำเป็นต้อง เสียค่าใช้จ่ายใดๆในการดำเนินตามสิทธิ์ข้างต้น โดยเราจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามคำร้องของท่านภายใน 30 วันนับแต่วันที่เราได้รับคำร้องขอดังกล่าว

การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โรงพยาบาลอาจทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในอนาคตเพื่อพัฒนาให้เกิดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ดีขึ้นและสอดคล้องกับแนว ปฏิบัติและกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว ทางโรงพยาบาลจะแจ้งให้ท่านทราบทุกครั้งด้วยการ update ข้อมูลลงใน website ของเราทกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว

ช่องทางการติดต่อ
รายละเอียดผู้ควบคุมข้อมูล
หัวหน้ากองบริหารโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
ชื่อ: พ.อ.ก้องเกียรติ อิงคนันท์
สถานที่ติดต่อ: ตึกอำนวยการ ชั้น 1
ช่องทางการติดต่อ:
โทรศัพท์ 045-324400 โทรศัพท์ภายใน 220
โทรสาร. 045-322654
เว็บไซต์ https://ksp-hosp.com/ksp-website/

รายละเอียดเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO)
หัวหน้าแผนกศูนย์คอมพิวเตอร์และเวชนิทัศน์
ชื่อ: จ.ส.อ.พิทักษ์ บุญฉลวย
สถานที่ติดต่อ: ศูนย์คอมพิวเตอร์และเวชนิทัศน์
ช่องทางการติดต่อ: โทรศัพท์ 0811207225
Email: ksp@ksp-hosp.com

นโยบายความเป็นส่วนตัวถูกทบทวนครั้งล่าสุดเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565
รายละเอียดหน่วยงานกำกับดูแล
ในกรณีที่โรงพยาบาลหรือลูกจ้างหรือพนักงานของเราฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านสามารถร้องเรียนต่อหน่วยงานกำกับดูแล ตามรายละเอียดดังนี้
ชื่อ: ศูนย์คอมพิวเตอร์และเวชนิทัศน์
สถานที่ติดต่อ: โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
ช่องทางการติดต่อ: โทรศัพท์ 045-324400 โทรศัพท์ภายใน 263 , 463
Email: ksp@ksp-hosp.com